Music ♥

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติ

นโยบายด้านความสัมพันธ์รหว่างประเทศ 

     นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลชุดปัจจุบันได้กำหนดนโยบาย ดังนี้ 

1.ดำเนินนโยบายการต่างประเทศเชิงรุก 
2.มุ่งส่งเสริมการขยายสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศในด้านต่างๆ



การเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ

1.องค์การสหประชาชาติ ( The United Nattions : UN )



บทบาทของสหประชาชาติในประเทศไทย 

     ไทยเป็นประเทศผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่งของสหประชาชาติ ประเทศไทยได้ส่งบุคลากรไปร่วมกับกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ และรับรองมติด้านสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาและสนธิสัญญาเกี่ยวกับแรงงานและสิ่งแวดล้อม องค์กรสหประชาชาติระดับภูมิภาคเป็นจำนวนมากจัดตั้งสำนักงานในกรุงเทพฯ รวมทั้งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชา ชาติ (UN Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - UNESCAP)
การทำงาน

     กรุงเทพฯ ได้รับขนานนามว่าเป็น "เจนีวาแห่งเอเชีย"และไทยกลายเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคสำหรับระบบสหประชาชาติในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ดังนั้น ระบบสหประชาชาติในไทย ซึ่งมีขนาดใหญ่โตและซับซ้อนเป็นพิเศษ จึงประกอบด้วยหน่วยงานของสหประชาชาติที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 28 หน่วยงาน


2.สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ( Association of South - East Asian Nation : ASEAN )


วัตถุประสงค์

1.เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค
2.ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยเคารพหลักความยุติธรรมและหลักนิติธรรม

ด้านเศรษฐกิจ

1.เพื่อเป็นกลไกขยายการค้าระหว่างประเทศสมาชิกและดึงดูดการลงทุนจากภายนอก 
2.พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน 
3.ช่วยให้เกิดการใช้ทรพยาการอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านสังคมและวัฒนธรรม 

1.ให้ความร่วมมือทางด้านการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2.การจัดการภัยพิบัติ
3.ตรวจคนเข้าเมืองและขจัดปัญหายาเสพติด

3.เขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา ( Asean Free Trade Area : AFTA )


วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
 
                    1. เพื่อให้การขายสินค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเสรีมีอัตราภาษีต่ำและปราศจากข้อจำกัดทางการค้า
                    2. เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้มาลงทุนในอาเซียน
                    3. เพื่อจะได้มีอำนาจต่อรอง และเป็นเวทีแสดงความคิดเห็น หากได้รับความกดดัน หรือถูกเอารัดเอาเปรียบ



ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขตการค้าเสรีอาเซียน
 
      ไทยมีความสัมพันธ์กับอาฟตาโดยตรงในฐานะที่เป็นภาคีสมาชิกประเทศหนึ่งที่มี มูลค่าการค้าสูงและส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน เช่น พ.ศ.2540 ไทยมีมูลค่าการค้ากับอาเซียนรวม 626,251 ล้านบาท เป็นมูลค่าสินค้าออก 380,790 ล้านบาท มูลค่าสินค้าเข้า 245,425 ล้านบาท ไทยได้เปรียบดุลการค้าเป็นเงิน 135,365 ล้านบาท


4.กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกหรือเอเปก ( Asia Pacific Economic Cooperation : APEC )


วัตถุประสงค์ 


  • พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่าย
  • สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก
  • เพื่อลดอุปสรรค และอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า การค้าบริการ และการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ขององค์กรการค้าโลก
  • ส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเงินการคลังในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ


หลักการของความร่วมมือภายใต้กรอบเอเปค

     เอเปคเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจที่ประเทศสมาชิกสนใจการดำเนินงานยึดหลักฉันทามติ ความเท่าเทียมกัน และผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก 


5.องค์การการค้าโลก  ( World Trade Organization : WTO ) 


     องค์การการค้าโลก (World Trade Organization, WTO) เป็นองค์การนานาชาติสังกัดองค์การสหประชาชาติ (UN) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้าและการบริการระหว่าง ประเทศสมาชิก
     องค์การการค้าโลก จะทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงย่อย 3 ข้อตกลง คือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (General Agreement on Tariff and Trade; GATT) ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services; GATS) และ ความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา (The agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights; TRIPS)
 
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีกับประเทศลาว

     ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ร่วมมือกันสร้างเส้นทางคมนาคมเพื่อประโดยชน์ทางด้านเศรษฐกิจการค้าของประเทศทั้งสอง

โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี เจ้าพระยา แม่โขง 

วัตถุประสงค์

     เพื่อร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว โดยนำทรัพยากรธรรมชาติของแต่ละประเทศเป็นฐาน

โครงการพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง

 ประโยชน์
1.ทำให้ประเทศสมาชิกมีความเป็นอิสระ มีความยืดหยุ่นในการวางแผนดำเนินโครงการ ที่มีการใช้น้ำจากแม่น้ำโขงได้มากขึ้น
2.เป็นกลไกช่วยสร้างความมั่นใจ และความไว้วางใจต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาคที่จะร่วมมือ กันพัฒนาแม่น้ำโขงให้เกิดประโยชน์
3.ทำให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสดำเนินโครงการร่วมกันบนแม่น้ำสายประธานได้มากขึ้น
4.ทำให้ประเทศผู้ช่วยเหลือสามารถให้ความช่วยเหลือในโครงการต่างๆได้มากขึ้น
5.ทำให้มีโอกาสขยายความร่วมมือในภูมิภาคไปยังริมฝั่งตอนบน คือ จีน และ พม่า
6.ความตกลงนี้จะไม่มีผลบังคับกับโครงการใช้น้ำที่มีมาก่อนวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
7.เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกสามารถถอนตัวออกจากกรอบความร่วมมือนี้ได้หากเห็นว่าการดำเนินงานนี้ไม่อาจเสี่ยงได้
8.ช่วยให้ประเทศสมาชิกดำเนินการเกี่ยวกับ การใช้น้ำจากแม่น้ำโขงได้ในลักษณะ มีความยืดหยุ่นกว่าหลักเกณฑ์กฎหมาย ระหว่างประเทศ ว่าด้วยการใช้น้ำจากแม่น้ำระหว่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น